วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ : ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ (หลังเดิม)  


                เมืองประวัติศาสตร์ล้านนา ที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังแห่งความสวยงาม นามว่า เมืองเชียงใหม่ ซึ่งในอดีตเป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ที่มีการรวมรวมอาณาจักรของพ่อขุนงำเมืองมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เข้ากับอาณาจักรของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ให้เป็นอาณาจักรล้านนา หากแต่เพียงมองดูผิวเผินแล้ว เมืองเชียงใหม่จะเต็มไปด้วยศิลปะที่ทรงคุณค่าของอาณาจักรล้านนาไทย แต่ใครจะคิดว่าในใจกลางเมืองแห่งนี้ ยังมีศิลปะตะวันตกที่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5  เข้ามาสร้างผลงานภายในเมืองล้านนาแห่งนี้
                ภายในเขตกลางตัวเมืองเชียงใหม่ หรือเขตสี่เหลี่ยมรอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ยังมีศิลปะ วัฒนธรรมที่งดงามหลากหลาย  ณ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ยังมีอาคารสถาปัตยกรรมตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามหอศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เมื่อเราเดินออกมาถนนก็จะพบกับอาคารหลังหนึ่งที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบยุโรปตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ฝั่งตรงข้าม นั้นก็คืออาคารศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม มีรั่วปูนทรงเตี้ยทาสีขาวล้อมรอบตัวอาคารไว้ ประตูทางเข้าทำด้วยไม้ทาสีครีมสองบานแบบเปิดปิดได้ บริเวณโดยรอบของศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นและเขียวขจี มีการจัดประดับตกแต่งสวนอย่างสวยงามสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ตัวอาคารทาด้วยสีเหลืองนวลตัดกับสีของต้นไม้โดยรอบทำให้แลดูเด่นขึ้นมา ลักษณะอาคารเป็นแบบสมมาตรคือฝั่งซ้ายและฝั่งขวาออกแบบมาสมดุลกัน  ตัวอาคารเป็นตึกสองชั้น ด้านหน้าของตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมแบบวงโค้ง(Arch) มีเสาแบบดอริก(Doric)ขนาดใหญ่ขนาบข้างบานประตุฝั่งละสองต้น ผนังรอบอาคารมีหน้าต่างเป็นจำนวนมาก หน้าต่างเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งกรอบหน้าต่างทำด้วยไม้ หน้าต่างเป็นบานพับแบบเปิดปิดสองด้านและมีช่องระบายอากาศอยู่ด้านบน หน้าต่างชั้นสองของด้านหน้าตัวอาคารมีระเบียงขนาดเล็กยื่นออกมาทั้งสองข้าง และบนประตูใหญ่ก็มีระเบียงยื่นออกมา ตัวหลังคาเป็นรูปทรงปั้นหยา ใช้กระเบื้องสีแดงและมีตราครุฑสีทองอยู่ตรงกลางอาคารด้านบนคำว่าศาลแขวงเชียงใหม่ แสดงความเป็นหน่วยงานราชกาล ตามที่บรรยายมานี้องค์ประกอบทุกอย่างได้ถูกออกแบบมาอย่างลงตัวเหมาะสมเสริมให้ตัวอาคารมีความโดดเด่นสะดุดตา และสวยงามมาก การออกแบบตัวอาคารด้วยศิลปะแบบ Neo Classic ทำให้อาคารหลังนี้ดูมีมนต์เสน่ห์และน่าสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้เป็นเอกลักษณ์หาดูได้ยากในปัจจุบันนี้

ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ (หลังเดิม)  
                ประวัติความเป็นมา
                เมื่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จประภาสยุโรป และเมื่อได้ทรงกลับมาปรับปรุงพัฒนาประเทศก็ ได้ทรงประกาศรวมหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรลานนาไทยเป็นมณฑลพายัพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในผืนแผ่นดินของราชอาณาจักรสยาม  และได้สถาปนาจัดตั้งศาลมณฑลพายัพขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ได้กำหนดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัดและอำเภอ ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล ให้มีฐานะจากศาลมณฑลพายัพเป็นศาลจังหวัด และได้อนุมัติจัดซื้อที่ดินเพื่อการก่อสร้างอาคารศาล จากเจ้าราชบุตร ซึ่งเป็นเจ้าฝ่ายเหนือ จำนวนเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา และได้ก่อสร้างอาคารตั้งอยู่ ณ ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลากลางหลังเก่า และอนุสาวรีสามกษัตริย์ในปัจจุบัน


                ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมตะวันตกซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประภาสยุโรป แล้วเริ่มมีการติดต่อกับต่างประเทศในแถบยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษกับฝรั่งเศส  ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classicism) รูปทรงเป็นหลังคาปั้นหยา ด้านหน้าอาคารมีเสาในรูปแบบดอริก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมกรีก มีโครงสร้างแบบวงโค้งซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมโรมัน มีกำแพงเตี้ยปิดโดยรอบ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก พนังก่ออิฐฉาบปูน และมีความหนาพิเศษ พื้นปูด้วยไม้สัก รูปแบบอาคารราชการขนาดกลางแบบสมมาตร และนำเอาแนวคิดในรูปแบบของนีโอคลาสสิกที่มีพื้นฐานมาจากกรีกและโรมันในเรื่องความเข้มแข็ง สง่างาม มาใช้กับตัวอาคารของศาลที่เต็มไปด้วยความเข้มแข็ง หนักแน่น ยุติธรรม สถาปนิกผู้สร้างเป็นชาวอิตาลี ที่มารับราชการในกรมโยธาธิการ บริเวณข้างเคียงมีบ้านพักจ่าศาล เป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง

ลัทธินีโอคลาสสิก (Neo-Classicism)
                ลัทธินีโอคลาสสิคมี แบบอย่างอันแสดงให้เห็นถึงเหตุและผลความถูกต้องชัดเจนของสัดส่วนและความจริงตามหลักกายวิภาค ความสัมพันธ์ของเรื่องราวที่สมเหตุผล ความสัมพันธ์ของขนาดและลักษณะของการจัดภาพ ความคิดสร้างสรรค์ตามเรื่องราวที่มีเหตุผล และเสรีภาพในการทำงานของศิลปินอย่างมีทักษะ
                นักประวัติศาสตร์ได้จัดให้ลัทธินีโอคลาสสิก (Neo-Classicism) เป็นช่วงของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) โดยเริ่มเมื่อประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งอยู่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เกิดจากการต่อต้านทุกระบบที่เป็นการแบ่งชนชั้น การเปลี่ยนแปลงนี้ ได้มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในยุโรป ยุคอำนาจและการรวมศูนย์ของกษัตริย์เริ่มเสื่อมคลาย ประชาชนเรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพื่อไม่ให้ผูกขาดกับผู้มีอำนาจอยู่เพียงผู้เดียว จนเกิดระบบเสรีนิยม ดังนั้นในช่วงนี้ ศิลปินมีแนวคิดอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ ไม่ยึดติดกับประเพณีเก่าๆ ศิลปินใดที่มีแนวคิดอุดมการณ์แบบเดียวกัน ก็เกิดการรวมกลุ่มตั้งเป็นลัทธิศิลปะ(ด้วยเหตุนี้ศิลปะในช่วงนี้ จึงลงท้ายชื่อด้วย “ism” ซึ่งหมายถึง กลุ่มลัทธิ) ประกอบกับช่วงนี้มีการปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งด้านวัสดุ วิธีการ และรูปแบบ ดังนั้น หากเรายอมรับว่าช่วงนี้เป็นยุคแห่งการปฏิวัติ คงไม่มีคำใดเหมาะสมกว่าที่จะเรียกว่า “สมัยใหม่”
                นีโอคลาสสิก เกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี จากนั้นกระจายไปที่ต่างๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้เป็นผลพวงจากในช่วงขณะนั้นนักโบราณคดี ได้ขุดค้นเมืองกรีกโบราณ “เมืองปอมเปอี” ได้ค้นพบศิลปวัตถุล้ำค่า ทำให้มีการประชาสัมพันธ์การขุดค้นด้านโบราณคดีกันอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดความนิยมชมชอบโดยทั่วไป และหันมารื้อฟื้นในรูปแบบศิลปะของกรีกและโรมันขึ้นมาอีกครั้ง โดยนำแนวคิดรูปแบบศิลปะของกรีกและโรมันกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นคำว่า “นีโอคลาสสิก” จึงเป็นคำที่มีความหมายตรงตัว คือ “นีโอ(Neo)” หมายถึง ใหม่  “คลาสสิก(Classic)” หมายถึง กรีกและโรมัน ซึ่งรวมกันแล้วหมายถึง ความเคลื่อนไหวของศิลปะ ที่มีสุนทรียภาพตามแบบศิลปะกรีกและโรมัน
                การถือกำเนิดของศิลปนีโอคลาสสิก ยังเกิดขึ้นกับปัจจัยอื่นหลากหลายประการ เช่น คริสตจักรแห่งวาติกันได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความเบื่อหน่ายต่อศิลปะ บารอคและรอคโกโก(Barouque and Rococo) ซึ่งมีรสนิยมอันหรูหรา ฟุ่มเฟือย หรือมุ่งเอาใจชนชั้นสูงมากเกินไป สิ่งเหล่านี้ศิลปินและปัญญาชนสมัยนั้นต่างถือว่า ไม่ใช่ความงามสมบูรณ์แบบ ตามคตินิยมของกรีกและโรมัน พวกเขายึดมั่นในอุดมคติของกรีกและโรมัน ดังนั้นรูปแบบความงาม และเนื้อหาต่างๆ จึงเต็มไปด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ ความชัดเจน เหตุผล ความมีสัดส่วน และความเสมอภาค คล้ายศิลปะกรีกและโรมัน มีเพียงวัสดุและวิธีการก่อสร้าง ที่เปลี่ยนแปลงบ้างตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
                ด้านจิตรกรรม ส่วนใหญ่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยกรีกและโรมัน หรือเรื่องราวในชีวิตประจำวันทั่วไป ภาพคน จะเขียนอย่างถูกต้องตามหลักการในภาพ มีท่าทางสง่าผ่าเผย ใช้สีถูกต้องตามหลักการทฤษฎีหลักของแสงและเงา มีการไล่เฉดสีอ่อนแก่ เพื่อให้เกิดความกลมกลืน เป็นสัดส่วนและความเด่นชัด บางครั้งก็แสดงออกถึงแนวคิดใหม่ๆ จิตรกรที่สำคัญได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด(Jacques Louis David) ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ (Jean Auguste Dominique lngres)

ชาก ลุย ดาวิด(Jacques Louis David)
(อ้างอิงจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c6/David_Self_Portrait.jpg )


ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ (Jean Auguste Dominique lngres)
(อ้างอิงจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/94/Ingres,_Self-portrait.jpg )

           
            ด้านประติมากรรม มีสัดส่วนถูกต้อง ยึดระเบียบแบบแผนจากสมัยกรีก และโรมันอย่างเคร่งครัด ประติมากรรมคน มักใช้ใบหน้าจากแบบจริง ผสมผสานกับรูปแบบสมัยคลาสสิก แต่ก็ดูเหมือนให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา น้อยกว่าสมัยเรอเนสซองซ์ และบารอค  ปฏิมากรที่สำคัญได้แก่ อันโตนีโอ คาโนวา (Antonio Canova)

อันโตนีโอ คาโนวา (Antonio Canova)
(อ้างอิงจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/6b/Antonio_Canova_Selfportrait_1792.jpg )


                ด้านสถาปัตยกรรม นับว่ามีอิทธิพลอย่างมาก ทั้งในยุโรป และอเมริกา ตลอดจนประเทศต่างๆที่เป็นอาณานิคมของยุโรป ลักษณะงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้ มีแนวคิดและการสร้างงานลอกเลียนแบบงานโบราณ ทั้งแบบของเสา และการตกแต่ง แต่ส่วนใหญ่มีรายละเอียดน้อยกว่าศิลปะบารอคและรอคโกโก อีกทั้งดัดแปลงผสมผสานความคิดใหม่ๆ เข้าไปด้วย การตกแต่งด้านหน้านิยมด้วยลายนูนตื้นๆ ไม่หรูหรามากนัก ศิลปินยุคนี้จะกลับไปซาบซึ้งกับงานสถาปัตยกรรมสมัยโรมัน และยังศิลปะในรูปแบบอุดมคติของกรีก สถาปนิกในยุคคลาสสิกใหม่ได้รับอิทธิพลจากงานภาพเขียน และโปรเจกของ Étienne-Louis Boullée และ Claude Nicolas Ledoux.  ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันกับความนิรันดร์ของจักรวาล ส่วนงานของ Claude Nicolas Ledoux ต้องการสื่อสารการใช้งานของสถาปัตยกรรมให้ผู้เห็นได้รับรู้ความหมายที่เขาต้องการจะสื่อโดยทันที งานสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกใหม่รุ่งเรืองมากในประเทศฝรั่งเศส เช่น

ประตูชัยที่กรุงปารีส (Arc de triomphe de l'Étoile)

(อ้างอิงจาก http://3.bp.blogspot.com/_Abnh8oUJRMg/SrIEDy0zs6I/AAAAAAAAAE0/IlJIjrB4iJ0/s1600-h/Arc_de_triomphe_by_tumb.jpg ) 
ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมัน


ประตูชัยไตตัส ( Arch of Titus )

 (อ้างอิงจาก https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhxZbwaPF0ZBrz8n1cemUhlACatLIzk_6g9dbUvapun4hFBgUTpFNnxocBQLfmcZ52Opt1_HSaNqEIFLudynTF9bc3-8u1TOC3ChAxop-7D85HbQP7sT-X_5XUebQt-pFbkb2Q4khTIGdNP/s400/Titus_hh2.jpg )
ตั้งอยู่ในเมือง Via Sacre ซึงเป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงโรม ถูกสร้างขึ้นในจักรวรรดิโรมมัน ปีที่ 41 เป็นงานสถาปัตยกรรมรูปแบบโรมัน


                ส่วนงานสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกในประเทศไทยนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป เนื่องจากการเสด็จประภาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งในช่วงนี้ มีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมหลายแห่งที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป
                งานสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานีรถไฟกรุงเทพ(สถานีรถไฟหัวลำโพง) ตึกแถวย่านท่าช้าง

พระที่นั่งอนันตสมาคม
(อ้างอิงจาก http://4.bp.blogspot.com/_Abnh8oUJRMg/SrIF0_Z8R3I/AAAAAAAAAFE/tepctenzgQo/s400/2919379394_c56f2ed4d9.jpg )

                พระที่นั่งอนันตสมาคม งดงามด้วยศิลปะแบบอิตาเลียนเลอเนสซองซ์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิก โดยรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้ เป็นแบบเดียวกันกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งกรุงโรม และโบสถ์เซนต์ปอล ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ  ช่วงบนของอาคารเป็นรูปโดม ทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆอยู่ลายรอบอีก 6 โดม ตัวอาคารสร้างจากหินอ่อนสีขาว ริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี อีกทั้งภายในยังงดงานไปด้วยภาพเขียนแบบเควสโกด้านบนเพดานโดม โดยฝีมือจิตรกรชาวอิตาเลียน ด้วยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน ชื่อนายซี .รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้น จะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชการที่ 6  




สถานีรถไฟกรุงเทพ(สถานีรถไฟหัวลำโพง)

(อ้างอิงจาก http://4.bp.blogspot.com/_Abnh8oUJRMg/SrIJA40c7vI/AAAAAAAAAFM/43ZUZJpt2Tk/s400/Untitled-1.jpg )

                เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบสถานีรถไฟในทวีปยุโรป ตามอิทธิพลของสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก ลักษณะอาคารใช้หลังคาเป็นโครงเหล็กรูปโค้งเกือบครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ห้องโถงใหญ่ที่ใช้รองรับผู้โดยสารทั้งหมด บริเวณส่วนกลางเป็นโค้งมุงด้วยวัสดุใส เพื่อให้เกิดแสงสว่างทั่วทั้งห้อง เน้นทางเข้าด้วยโถงยาวเท่าทางกว้างของโครง หลังคาห้องโถงทำเป็นหลังคาแบน มีลูกกรงคอนกรีตโดยรอบ รองรับด้วยเสา 2 ต้นคู่ ตลอดระยะมีการประดับตกแต่งด้วยหัวเสาแบบไอออนิก ตามแบบคลาสสิก ตั้งอยู่เป็นระยะๆไป และมีห้องลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมอยู่ปลายสุดของโค้ง เพื่อหยุดความกว้างของโค้งอาคาร


ตึกแถวย่านท่าช้าง

(อ้างอิงจาก http://4.bp.blogspot.com/_Abnh8oUJRMg/SrIJ8rWdD-I/AAAAAAAAAFU/wXF_N_qFEno/s400/Untitled-2.jpg )

                ตึกแถวย่านท่าช้าง เป็นอาคารพาณิชย์เก่าแก่ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก ด้านหน้าตัวอาคารชั้นบน ทำเป็นระเบียง 3 ระเบียง ระเบียงกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ผนังอาคารเซาะร่องเป็นแนว ชั่นล่างแต่งด้วยเสาดอริก และเสาแบบโครินเธียน ในชั้นสอง ปัจจุบันธนาคารนครหลวงไทย ก็ได้เช่าอาคารพาณิชย์แห่งนี้ เปิดเป็นที่ทำการธนาคาร นอกจากนั้นตึกแถวในรัชกาลที่ 5 ในกรุงเทพมหานครนั้น ก็ยังมีอาคารพาณิชย์ที่ใช้สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกอยู่ เช่น ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์และย่านหลังกระทรวง ตึกแถวถนนตะนาว ช่วงก่อนถึงวัดบวรนิเวศฯ เป็นต้น



แบบก่อสร้างของสถาปัตยกรรมกรีกแตกต่างกันไปตามลักษณะหัวเสา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ


                แบบดอริก (Doric) เป็นแบบดั้งเดิม ตัวเสาส่วนล่างใหญ่และเรียวขึ้นเล็กน้อย ตามลำเสาแกะเป็นทางยาว ข้างบนมีแผ่นหินปิดวางทับอยู่ สถาปัตยกรรมแบบดอริกเน้นความงามที่เรียบ แต่ให้ความรู้สึกที่มั่นคงแข็งแรง วิหารพาร์เธนอนเป็นสถาปัตยกรรมแบบดอริก
                แบบไอออนิก (Ionic) เสามีลักษณะเรียวกว่าแบบดอริก แผ่นหินบนหัวเสาเปลี่ยนจากแบบเรียบมาเป็นม้วนย้อยออกมาสองข้าง มีลักษณะงามแช่มช้อยมากขึ้น
                แบบโครินเธียน (Corinthian) ดัดแปลงจากไอออนิก ลักษณะเสาเรียวกว่าแบบไอออนิก หัวเสาตกแต่งเป็นรูปใบไม้ มีความหรูหรามากกว่า

สถาปัตยกรรม เป็นการก่ออิฐฉาบปูน มีหลังคาทรงโค้งกากบาทและมีลักษณะสำคัญ คือ
                มีความหนักแน่น ทึบคล้ายป้อมโบราณ มีโครงสร้างวงโค้งอย่างโรมัน มีหอสูง 2 หอ หรือมากกว่านั้น มีช่องเปิด ตามหน้าต่างหรือประตูทำเป็นโครงสร้างวงโค้งวางชิด ๆ กัน มีหัวคานยื่นออกนอกผนัง เป็นคิ้วตามนอนนอกอาคาร
มีหน้าต่างแบบวงล้อ เป็นรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นซี่

โครงสร้างวงโค้งของโรมัน
                อาร์ช หรือ โค้ง (arch) คือโครงสร้างลักษณะโค้งที่ใช้รองรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างด้านบนเหนือตัวมันเอง เทคนิคการสร้างอาร์ชถูกพัฒนาขึ้นในเมโสโปเตเมีย แอสซีเรีย อียิปต์ และ อีทรูเรีย แต่ถูกปรับปรุงและใช้อย่างแพร่หลายในโรมันโบราณ หลังจากนั้นอาร์ชกลายเป็นโครงสร้างสำคัญของอาคารโบสถ์ในศาสนาคริสต์ และในปัจจุบันยังมีการใช้อาร์ชในส่วนของโครงสร้าง

                ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ยังมีศิลปกรรมตะวันตกลัทธินีโอคลาสิกอยู่อีกมาก ยกตัวอย่างเช่น ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่(หลังเก่า) ซึ่งได้อธิบายความไว้ในข้างต้นแล้ว อีกทั้งยังมีอาคารยุพราช 98 ปี และหอศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่นัก

อาคารยุพราช 98 ปี
อาคารยุพราช 98 ปี

                เป็นอาคารในโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมโรงเรียนพร้อมพระราชทานนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์ 500 บาทสมทบการสร้างอาคารเรียนยุพราชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯเป็นประธานพิธีเปิดโรงเรียนวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2449 อาคารยุพราช 98 ปีเป็นสถาปัตยกรรมอิทธิพลแบบตะวันตก สองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐหนาทำส่วนโค้งเป็นรูป Arch ฉาบปูนเรียบ ชั้นบนและโครงสร้างหลังคาเป็นไม้ ปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาคารเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่


                หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่อดีตเรียกว่า สะดือเมือง หรือกลางเวียง  สถานที่ที่พระมหากษัตริย์ 3 พระองค์ คือ  พญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนาไทย  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย  และพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา  ทรงร่วมกันพิจารณาสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทย  ด้วยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชัยภูมิอันเป็นมงคล หลักฐานต่าง ๆ นับตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมาก็คือ เคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขีล หรือเสาหลักเมือง ไม้หมายเมือง บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดสะดือเมือง วัดอินทขีล  และส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งของหอคำและที่ทำการเค้าสนามหลวง  ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของดินแดนล้านนาไทย และหอคำนี่เองได้เป็นที่ประทับของเมืองเชียงใหม่มาหลายสมัย  เป็นที่ทำการของศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ  ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่  และเป็นที่ตั้งของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน โดยได้รับงบประมาณภายใต้แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF

                สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ก็คือลักษณะทางสถาปัตยกรรมของตัวอาคารที่สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่นำมาปรับปรุงให้เข้ากับสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น  มีอาคารติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม  มีที่ว่างตรงกลางเป็นลานอเนกประสงค์  สร้างแบบเรียบง่ายเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยเป็นหลัก  มีเพดานสูง  พื้นเพดานทำด้วยไม้มุงด้วยกระเบื้องว่าว  การตกแต่งมีวัฒนธรรมพื้นบ้านแทรก เช่น กาแล  ด้านหน้าประดิษฐานพระบรมราชานุสวรีย์สามกษัตริย์  ซึ่งได้สร้างขึ้นภายหลัง และเป็นลานสำหรับประกอบกิจกรรมสำคัญของบ้านเมือง อาคารหลังนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณชน ประจำปี 2542 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

เครื่องแต่งกายแบบตะวันตก

              ปัจจัยสี่ ถือว่ามีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมากซึ่งประกอบไปด้วย ความต้องการที่อยู่อาศัย ความต้องการอาหาร ความต้องการยารักษาโรค และสิ่งที่คำคัญไม่แพ้กันสำหรับคนในยุคอดีต หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน นั่นคือ ความต้องการเครื่องนุ่งห่ม



       
              เครื่องนุ่งห่มถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้ร่างกายของมนุษย์มีความอบอุ่น ยังช่วยในการปกปิดร่างกาย ทั้งยังสามารถปกป้องร่างกายต่อแมลง ที่อาจเป็นภัยให้แก่มนุษย์ได้ การแต่งกายของมนุษย์ มีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยสภาพพื้นที่ที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกัน  การประกอบอาชีพของแต่ละบุคคล ก็ล้วนแล้วแต่มีผลให้การแต่งกายมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่



       
              แต่เนื่องด้วยมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย หรือการติดต่อทางการฑูต เป็นเหตให้วัฒนธรรมการแต่งกาย เริ่มมีการแพร่เข้าไปสู่พื้นที่ที่ต่างออกไป จนทำให้การแต่งกายมีลักษณะที่กลมกลืนกัน จนในบางครั้งไม่สามารถแยกออกได้ว่า เป็นการแต่งกายที่มีต้นกำเนิดมาจากที่ใด ดังเช่น













              นักท่องเที่ยวหญิงชาวเอเชียคนนี้ ได้รับอิทธิพลการแต่งกายมาจากทั้งกรีกและโรมัน

       
              โดยรับอิทธิจากกรีก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการสวมชุดแขนสั้น โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับชุดโดริค ซิตอน(Doric chi-ton) ที่มีเครื่องเกาะเกี่ยวบริเวณไหล่ทั้งสองข้าง โดยมีการพัฒนาให้เป็นกระดุมแทน เพื่อให้มีความมั่นคงมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนผิวผ้าให้มีความเบาสบาย เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น





              และได้รับอิทธิพลจากโรมัน โดยสามารถสังเกตได้จากการสวมรองเท้าในรูปแบบของชาวโรมันในอดีต โดยได้พัฒนามาเป็นหนังสังเคราะห์ ที่มีความคงทนในการใช้งาน และสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายกว่าในอดีตที่ใช้หนังนิ่มในการทำรองเท้า ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าไม่ให้สูญพันธุ์อีกด้วย















         เด็กนักเรียนทั้งสองได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากชาวกรีกในอดีต โดยสังเกตได้จากรองเท้าที่สวมใส่ ที่มีลักษณะเป็นเส้นเชือกที่สานกันจนเป็นรองเท้า โดยในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบการสาน เพื่อให้มีลวดลายที่สวยงามมากขึ้น และมีความเหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย ซึ่งเป็นรองเท้าที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี























             เจ้าของร้านขายขนมถ้วยท่านนี้ ได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากชุดทูนิค ซึ่งเป็นชุดนักรบของโรมัน และ การแต่งกายในสมัยอังกฤษ สมัยกลาง ในศตวรรษที่ 15

              ซึ่งสามารถสังเกตอิทธิพลจากชุดนักรบโรมันได้จาก ชุดที่มีการรัดด้วยเชือกบริเวณเอว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับชุดทูนิค(Tonic) แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนบริเวณแขนเสื้อให้เป็นเสื้อแขนกุด เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศในประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถดึงดูดของคนรอบข้างได้





          และสามารถสังเกตอิทธิพลจากการแต่งกายในสมัยอังกฤษ สมัยกลาง ในศตวรรษที่ 15 ได้จากการใส่กางเกงเลกกิ้ง ที่มีลักษณะคล้ายกับถุงเท้าในอดีต โดยมีการพัฒนาให้มีความบางเบา กระชับ แนบเนื้อ ซึ่งทำให้ผู้ใส่รู้สึกกระชับ และกระฉับกระเฉงในการทำงาน





          ทั้งนี้ทั้งนั้นการแต่งกายของมนุษย์ก็ได้ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สภาพแวดล้อม กาลเทศะ และกิจกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละพื้นที่ด้วย แต่ก็ยังมีรูปแบบและแนวคิดมาจากอดีตหลงเหลืออยู่ในผลงาน











จัดทำโดย
นายพลวัฒน์ มีแหวน 532110065
นายพัทนนท์ ทิมคล้าย 532110066
นายพิษณุ แก้วเทพ 532110067
นางสาวพิจิตรตรี สอนกล่อม 532110068
นายพีระ โพธิ์คัณธา 532110069